หนังสือเล่มนี้ชื่อ 1.0×10100 ลองทายสิครับว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
เมื่อเปิดหนังสือเข้ามาแล้วจะเจอข้อความว่า We didn’t set out to build a search engine. หรือแปลเป็นไทยว่า เราไม่ได้เริ่มต้นที่การสร้าง search engine
ใช่แล้วครับ นี่คือหนังสือ Googol ที่เปิดเผยที่มาของ Google นั่นเอง
Googol (goógôl) The mathematical term for a 1 follwed by 100 zeros. A very large number. Coined by Milton Sirotta, the nephew of mathematician Edward Kasner.
คำว่า Googol เป็นคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ที่ใช้เรียกเลข 1 ที่ตามด้วยเลข 0 จำนวน 100 ตัว เป็นตัวเลขจำนวนมหึมา ชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นโดย Milton Sirotta หลานของนักคณิตศาสตร์ Edward Kasner
ขณะที่ Kasner กำลังเดินอยู่กับหลาน Sirotta เขากำลังครุ่นคิดถึงตัวเลขจำนวนมหาศาล และถามหลานของเขาว่าควรจะเรียกตัวเลขนี้ว่าอะไรดี Sirotta ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 9 ขวบพูดขึ้นว่า Googol
There isn’t a googol of anything in the universe. Not stars, not dust particles, not atoms.
ไม่มีสิ่งใดที่มีจำนวน googol ในจักรวาลนี้ ทั้งดวงดาว อนุภาคฝุ่น และอะตอม
We encourage our employees, in addition to their regular projects, to spend 20% of their time working on what they think will most benefit Google. This empowers them to be more creative and innovative. Many of our significant advances have happened in this manner. For example, AdSense for content and Google News were both prototyped in “20% time.” Most risky projects fizzle, often teaching us something. Others succeed and become attractive businesses.
เราสนับสนุนให้พนักงานของเราใช้เวลา 20% ที่นอกเหนือการทำโครงการปกติ เพื่อให้พวกเขาทำในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจะมีประโยชน์ต่อ Google มากที่สุด วิธีนี้ส่งเสริมให้พวกเขามีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพิ่มขึ้น หลายครั้งที่ความก้าวหน้าที่มีนัยสำคัญของเราเกิดจากวิธีนี้ ตัวอย่างเช่น ต้นแบบของ AdSense for content และ Google News ก็ถูกสร้างจาก “เวลา 20%” นี้ มีโครงการที่มีความเสี่ยงจำนวนมากที่ล้มเหลว แต่มันก็สอนพวกเราหลายอย่าง ขณะที่โครงการที่ประสบความสำเร็จก็ได้กลายเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ
When I got to Stanford, I told my Ph.D. advisor, “There are all these things I’m excited about: telepresence, airplanes… oh, and the web has this link structure that no one seems to be looking at.” He said, “The web thing sounds good. Why don’t you do that?”
เมื่อผม (ลาร์รี่ เพจ) เข้าเรียนที่ Stanford ผมคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาว่า “มีหลายสิ่งที่ผมรู้สึกตื่นเต้น telepresence เครื่องบิน… โอ้ และเว็บก็มีโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบนี้ที่ไม่มีใครมองเห็นมันมาก่อน” อาจารย์กล่าวว่า “เว็บก็ฟังดูน่าสนใจนะ ทำไมคุณไม่ทำเลยล่ะ?”
At Stanford, when you start a company, you wander around and say to professors, “We’re turning this Google thing into a company. Who should I talk to?” One responded, “You should talk to my friend Andy.” Then we got a midnight phone call: “Come to my house tomorrow morning.” Eight hours later, we were sitting on his porch (his laptop had an Ethernet connection) giving a demo to Andy Bechtohlsheim, one of the founders of Sun.
We gave him a figure, and he said, “That sounds low. How about twice that?” So we said, “OK.” “I’m in sort of a hurry,” he said. “Can I just write you a check?” “OK.” “How does $100,000 sound?” “OK.” “I’ll make it out to Google, Inc.” “OK.”
ที่ Stanford เมื่อคุณจะตั้งบริษัท คุณต้องไปเที่ยวถามจากอาจารย์หลายๆ ท่านว่า “เรากำลังจะทำให้ Google เป็นบริษัท ผมควรจะไปคุยกับใครดี?” มีท่านหนึ่งตอบว่า “คุณควรไปคุยกับเพื่อนของผมที่ชื่อ Andy” แล้วเราก็โทรไปหาเขาตอนเที่ยงคืน “มาหาผมที่บ้านพรุ่งนี้เช้า” หลังจากนั้นแปดชั่วโมง เราก็ไปนั่งอยู่ที่ระเบียงหน้าบ้านเขา (เขาใช้โน้ตบุ๊กที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้) แล้วสาธิตให้ Andy Bechtohlsheim หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Sun ชม
เราให้เขาดูจำนวนเงิน และเขาพูดว่า “น้อยไปหน่อยนะ ซักสองเท่าเป็นไง?” เราเลยพูดว่า “โอเคครับ” “ผมกำลังรีบ” เขาพูด “ผมจ่ายเป็นเช็คได้มั้ย?” “ได้ครับ” “ซัก $100,000 เป็นไง?” “ดีครับ” “ผมต้องเซ็นจ่ายให้ Google, Inc. นะ” “ใช่ครับ”
Our original hardware acquisition strategy was non-standard but effective: We would wait on the loading dock and beg for computers. When new computers arrived, we would go up to the people taking delivery and say, “Surely you don’t need all ten of these computers. Surely you can give us one. We have this really interesting research project…”
กลยุทธ์การได้มาซึ่งฮาร์ดแวร์ในยุคเริ่มต้นของเราคือการใช้วิธีที่ไม่เป็นมาตรฐานแต่ได้ผลดี: เราไปยืนรอที่จุดโหลดสินค้าเพื่อขอรับบริจาคคอมพิวเตอร์ เมื่อมีคอมพิวเตอร์ใหม่มาถึง เราจะขึ้นไปหาคนที่ส่งสินค้าและพูดว่า “คุณคงไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดสิบเครื่องนี้หรอก เราขอสักเครื่องได้ไหม เรากำลังทำโครงการวิจัยที่น่าสนใจมากๆ อยู่”
Another big surprise was Amit Patel, one of our early employees. At about the time we started to hire business people, Amit (an engineer) started writing all around the company: “Don’t be evil.” And it caught on. People became excited about it. At meetings, when certain ideas came up, you’d hear engineers saying, “Don’t be evil, don’t be evil.”
And it’s been a really good thing for the company.
เซอร์ไพร์สอีกอย่างก็คือ Amit Patel ซึ่งเป็นพนักงานยุคเริ่มแรกของเรา ในช่วงที่เราเริ่มจ้างคนทางสายธุรกิจ Amit (วิศวกร) เริ่มเขียนไปทั่วบริษัทว่า: “อย่าเป็นปีศาจ” และมันก็กลายเป็นคำพูดติดปาก ผู้คนต่างตื่นเต้นไปกับมัน เวลาที่ประชุม เมื่อมีไอเดียเกิดขึ้น คุณจะได้ยินวิศวกรพูดว่า “อย่าเป็นปีศาจ อย่าเป็นปีศาจ”
และนั่นเป็นสิ่งที่ดีจริงๆ สำหรับบริษัท
หนังสือเล่มนี้หาซื้อที่ไหนไม่ได้ครับ ส่วนผมได้รับแจกมาฟรี
ขอปิดท้ายด้วยข้อความสุดท้ายของหนังสือ
People ask us, “Why are you still around?” There are really a couple of reasons.
One is that we’re lucky.
One is that we have a deep technical understanding of our space, which wasn’t true of the people we were competing with. People in those companies, may be, but not the people running those companies.
One is that everybody searched, pretty much every day. There aren’t many things like that. You brush your teeth. You search. That’s about it. And one is Sergey Brin. Google has been profitable since the first quarter of 2001. It’s good that we did that; if we hadn’t, we might well be gone. But why did we make it such a priority? Because Sergey made it a priority.
Finally, we missed the boat twice. We didn’t go public during the boom, and we didn’t go bankrupt during the bust. Which turned out to be a good thing.
หลายคนถามเราว่า “ทำไมเรายังอยู่ได้?” มีเหตุผลอยู่สามสี่ข้อ
หนึ่งคือเราโชคดี
หนึ่งคือเรามีความเข้าใจทางเทคนิคอย่างลึกซึ้งในพื้นที่ที่เราอยู่
หนึ่งคือทุกคนค้นหามากขึ้นทุกวัน และอีกหนึ่งคือเซอร์เกย์ บริน Google เริ่มมีกำไรตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2001 มันเป็นเรื่องดีที่เราทำได้ ถ้าไม่ได้ เราก็อาจจะเจ๊งไปแล้ว
ท้ายที่สุด เราพลาดรถไฟไปสองครั้ง เราไม่ได้เป็นมหาชนในยุคที่ดอทคอมบูม และเราไม่ได้ล้มละลายในช่วงที่ฟองสบู่แตก นั่นกลายเป็นเรื่องดีสำหรับเรา