สรุปผล Blog Tag ทำดีเพื่อพ่อ

801 บล็อกใน 42 วัน

ถือว่าเกินคาดครับ เพราะกติกาค่อนข้างยาก บางคนบอกว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจในบางข้อ แต่ได้จำนวนมากขนาดนี้ก็นับว่าเยี่ยมมากๆ

ในความเป็นจริงคงมีบล็อกที่เขียนบทความทำดีเพื่อพ่อมากกว่านี้อีก แต่ผมนับเฉพาะที่ไปแจ้งไว้ในเว็บ http://macroart.net/dogood/

เนื่องจากผมเก็บข้อมูลไว้ค่อนข้างละเอียด ก็เลยเอามาสรุปผลให้เห็นถึงพฤติกรรมของ Blog Tag ทำดีเพื่อพ่อได้ดังนี้ครับ

จากจำนวนบล็อกที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 801 บล็อก ถ้าเราลองแบ่งตามผู้ให้บริการบล็อก จะพบว่า bloggang.com มาเป็นอันดับหนึ่งโดยมียอดสูงถึง 250 บล็อก ตามมาด้วย multiply.com จำนวน 139 บล็อก diaryclub.com จำนวน 124 บล็อก exteen.com จำนวน 108 บล็อก และ oknation.net จำนวน 71 บล็อก ขณะที่มีบล็อกที่ใช้โดเมนและพื้นที่ของตัวเองอีก 39 บล็อก

สถิติจำนวนบล็อกที่เข้าร่วมกิจกรรม แบ่งตามผู้ให้บริการบล็อก

ถ้าลองคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่า bloggang.com มีสัดส่วนถึง 31.2% หรือเกือบ 1 ใน 3 ของทั้งหมด และถ้านับเฉพาะ 4 อันดับแรกคือ bloggang.com, multiply.com, diaryclub.com และ exteen.com จะมีสัดส่วนรวมกันเกือบ 80%

สถิติจำนวนบล็อกที่เข้าร่วมกิจกรรม แบ่งตามผู้ให้บริการบล็อก คิดเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์

ตัวเลขนี้อาจจะไม่ใช่ market share ว่าผู้ให้บริการบล็อกรายไหนที่มีจำนวนผู้ใช้บล็อกที่ active มากกว่ากัน แต่ผมมองว่ามันสะท้อนถึงสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการได้ในระดับหนึ่ง เพราะเจ้าของบล็อกมักจะส่งต่อ Blog Tag ไปยังเพื่อนที่รู้จักกันภายในชุมชนเดียวกัน การที่ bloggang.com มีตัวเลขที่สูงที่สุด ส่วนหนึ่งมาจากการมีผู้เขียนบล็อกเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่สมาชิกมีปฏิสัมพันธ์ถึงกันได้ง่ายด้วย

สถิติตัวต่อไปเป็นตัวเลขในเชิงเวลา ผมแบ่งบล็อกออกตามวันที่ที่เจ้าของบล็อกเข้ามาแจ้งว่าเขียนบทความแล้ว ซึ่งทำให้มองเห็นภาพของกิจกรรม Blog Tag ที่เคลื่อนจากชุมชนของผู้ให้บริการบล็อกแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง

สถิติจำนวนบล็อกที่เข้าร่วมกิจกรรม แบ่งตามวันที่เข้าร่วม

ถ้าดูจากกราฟ จะพบว่ากราฟส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นที่เคลื่อนย้ายจากผู้ให้บริการบล็อกแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง จะเห็นได้ว่าช่วงแรกของลูกคลื่นเริ่มจากเว็บ oknation.net และ diaryclub.com ซึ่งเป็นเสมือน Early Adopter จากนั้นจึงแพร่มายัง exteen.com ที่ได้รับ Blog Tag ในช่วงกลางค่อนไปทางต้น และ multiply.com ที่ได้รับในช่วงกลางค่อนไปทางปลาย ปิดท้ายด้วย bloggang.com ที่ส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยเฉพาะในวันที่ 5 ธันวาคมที่กราฟสูงที่สุด

ถ้าลองพล็อตกราฟรวมทุกบล็อก จะได้ออกมาเป็นลูกคลื่นสองลูก ที่ตัวเลขในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนลดลง อาจเป็นเพราะว่าคนเขียนบล็อกกั๊กไว้เพื่อมาเขียนในช่วงเดือนธันวาคมเลยก็ได้

สถิติจำนวนบล็อกที่เข้าร่วมกิจกรรม แบ่งตามวันที่เข้าร่วม

ตัวเลขที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งก็คือจำนวนครั้งของการส่ง Tag ต่อ สูงที่สุดอยู่ที่ 31 ทอด ซึ่งทั้งหมดนี้ผมรู้จักแค่นาน่าที่ผมเป็นคน Tag หาโดยตรงแค่คนเดียว

  1. นาน่า (diaryclub.com)
  2. Ji (diaryclub.com)
  3. หรรษา (diaryclub.com)
  4. โอ๊ต (diaryclub.com)
  5. desertrose (diaryclub.com)
  6. lovelyair (multiply.com)
  7. ลูกโซ่ (multiply.com)
  8. camel (multiply.com)
  9. rabbitlighting (multiply.com)
  10. gunrato (multiply.com)
  11. การณา (multiply.com)
  12. mam (multiply.com)
  13. คิม (multiply.com)
  14. poomcsirre (multiply.com)
  15. ฉิงฉิง (multiply.com)
  16. ฝน (multiply.com)
  17. Por&Pae (multiply.com)
  18. flyingpiglets (multiply.com)
  19. terkira (multiply.com)
  20. ployzi (multiply.com)
  21. heartless23 (multiply.com)
  22. mimaychan (multiply.com)
  23. bestregards (multiply.com)
  24. pattyphoto (multiply.com)
  25. mstreet (multiply.com)
  26. ploythana (multiply.com)
  27. kittyou (multiply.com)
  28. EncodeO (multiply.com)
  29. ViT (multiply.com)
  30. parujoom (multiply.com)
  31. zoozaarus (multiply.com)

การจะเก็บข้อมูลจนสามารถนำมาประมวลผลแบบนี้ได้ ก่อให้เกิดความยุ่งยากหลายอย่างขึ้นมา เพราะผมต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาว่าผู้ที่จะเพิ่มรายชื่อบทความของตัวเองได้ จะต้องบอกด้วยว่าได้รับ Tag มาจากบทความไหน ทีนี้มีปัญหาเกิดขึ้นว่าบางคนได้รับ Tag จากเพื่อนหลายคน ก็เลยไม่รู้ว่าจะอ้างอิงถึงใครดี บางคนก็เลยไม่แจ้งรายชื่อบทความของตัวเองเข้ามา บางคนก็เพิ่มเข้ามาหลายครั้งตามจำนวน Tag ที่ได้รับมา ซึ่งระบบที่ผมพัฒนาขึ้นไม่รองรับ ก็เลยต้องเสียเวลาทำงานหลังบ้านค่อนข้างเยอะ

นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่าบางคนแจ้งบทความของตัวเองเข้ามาแล้ว แต่คนที่ Tag ไปหายังไม่ได้แจ้งเข้ามา ทำให้เพิ่มข้อมูลเข้าไปในระบบไม่ได้ ซึ่งผมก็จะแก้ปัญหาโดยการช่วยเพิ่มบทความของคนที่ยังไม่ได้แจ้งให้เอง แต่บางทีก็เพิ่มไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าบทความที่ Tag มาหาอยู่ที่เว็บไหน เลยต้องปล่อยให้ค้างเติ่งไว้เฉยๆ

อีกเรื่องที่ค่อนข้างวุ่นวายก็คือระบบที่ผมพัฒนาขึ้นมาจะอ้างอิงการเป็นผู้รับหรือส่งต่อ Tag โดยอาศัย URL ของบทความเป็นตัวเชื่อมโยง ถ้าสะกด URL ผิดเพียงตัวเดียวก็จะเชื่อมโยงกันไม่ได้ ก็เลยเกิดปัญหากับผู้ให้บริการบล็อกที่ไม่มี Permalink หรือ Beautiful URL สำหรับบทความ อย่างเช่น bloggang.com ที่มี URL เพื่อเข้าไปอ่านบทความได้หลายแบบ แต่ละคนก็จะเพิ่มบทความเข้ามาด้วย URL หลากหลายรูปแบบ ทำให้เชื่อมโยงเข้าด้วยกันไม่ได้เลย ผมก็เลยต้องตรวจแก้ URL ให้ถูกต้องก่อน ถ้าดูจากกราฟก็จะรู้ว่าเป็นงานที่หนักมากในช่วงต้นเดือนธันวาคม

ปิดท้ายด้วยจำนวนคนเข้าเว็บรายชื่อ Blog Tag ทำดีเพื่อพ่อ ตลอด 42 วัน  มีคนเข้าเว็บทั้งหมด 4,036 คน (Unique Visitors) ซึ่งเป็นจำนวนคนที่ได้รับรู้ว่ามีบล็อกเกอร์ชาวไทยอยู่ 801 คนที่ตั้งใจจะทำความดีเพื่อพ่อครับ

กราฟแสดงจำนวนผู้เข้าเว็บรายชื่อ Blog Tag ทำดีเพื่อพ่อ

ถ้าอ่านแล้วชอบ ฝากแชร์ด้วยนะครับ
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

, ,